
WHO เตือนพบยาแก้ไอจากอินเดียโยงเหตุเด็กเสียชีวิต 66 คน อย.ยันไม่มีขายในไทย
สุขภาพ อย. ยืนยันในไทยไม่พบการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ยาน้ำแก้หวัดและยาน้ำแก้ไอจากอินเดีย ยาที่มีสารปนเปื้อนที่อาจมีความเชื่อมโยงกับภาวะไตวายเฉียบพลันที่ทำให้เด็ก 66 คนในแถบแกมเบียเสียชีวิต จากกรณีมีเด็กเสียชีวิต 66 คน ในแกมเบีย จากยาน้ำแก้หวัด ลดไข้ แก้ไอ โดยพบสารเคมีอันตรายปนเปื้อน คือโดยมีผลทำให้ปวดท้อง ปวดหัว อาเจียน ท้องเสีย ไตวาย และเสียชีวิตภายใน 3-5 วัน องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศเตือนเรื่องการใช้ยาแก้ไอและยาแก้หวัด 4 ขนานประกอบด้วยยาแก้แพ้ (Promethazine Oral Solution) ยาแก้ไอชนิดน้ำ 2 ชนิด (Kofexmalin Baby Cough Syrup, Makoff Baby Cough Syrup) และยาลดไข้ชนิดน้ำ (Magrip N Cold Syrup) ที่ผลิตโดยบริษัทเวชภัณฑ์ของอินเดียโดยระบุว่ายาดังกล่าวอาจมีความเชื่อมโยงกับภาวะไตวายเฉียบพลันที่ทำให้เด็ก 66 คน และเตือนว่า ยาเหล่านี้อาจมีวางจำหน่ายในประเทศนอกภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก และอาจทำให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันขึ้น ล่าสุด นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า กรณีที่มีข่าวเด็กในอินโดนีเซียเกิดไตวายเฉียบพลัน หลังรับประทานยาน้ำเชื่อมพาราเซตามอลที่ผลิตในอินเดีย ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ข่าวสุขภาพ องค์การอนามัยโลกได้ประกาศเตือนให้ถอดผลิตภัณฑ์ยาแก้หวัด 4 ตัวของบริษัท เมเดน ฟาร์มาซูติคอลส์ ที่ผลิตในประเทศอินเดีย ได้แก่ 1. Promethazine oral solution BP 2. Kofexmalin baby cough syrup 3. Makoff baby cough syrup และ 4. Magrip N cold syrup โดยตรวจพบการปนเปื้อนสารไดเอทิลินไกลคอล (diethylene glycol) และเอทิลีนไกลคอล (ethylene glycol) ซึ่งอาจส่งผลต่อไตจนมีเด็กในประเทศแกมเบียเสียชีวิต 70 ราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ตรวจสอบแล้ว ไม่พบการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ยาดังกล่าว และไม่พบข้อมูลการขายบนอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย รวมทั้งไม่มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาสำเร็จรูปและวัตถุดิบที่มาจากบริษัท เมเดนฯ ทั้งนี้ สารปนเปื้อนดังกล่าวจัดเป็นวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร ซึ่งส่งผลให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย เช่น ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย ปัสสาวะไม่ออก ปวดศีรษะ สภาพจิตใจผิดปกติ ไตวายและอาจเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม อย. มีมาตรการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในประเทศอย่างเข้มงวด และจะดำเนินการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องต่อไป
แนะนำข่าวสุขภาพ อ่านเพิ่มเติมคลิกเลย : สธ.เคาะแยกงบ ‘บัตรทอง’ 1.37 แสนล้าน สปสช.ยืนยันไม่กระทบโรงพยาบาล