
แต่ละปีพบ ‘บุหรี่’ 4.5 ล้านล้านมวน ถูกทิ้ง-ทำลายสิ่งแวดล้อม
สุขภาพ หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า นอกจาก “สูบบุหรี่” จะทำลายสุขภาพของคนสูบโดยตรง รวมทั้งคนที่ได้รับควันบุหรี่มือสองแล้ว “สูบบุหรี่” ยังทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างมากด้วย ข้อมูลกองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ หรือ OTPC ได้อธิบายและยกตัวอย่าง “บุหรี่” เป็นภัยของสิ่งแวดล้อม ดังนี้ บุหรี่ทำลายสิ่งแวดล้อมในทุกขั้นตอน ก่อให้เกิดความเสียหายทางสุขภาพและเศรษฐกิจสูงถึง 3.5 แสนล้านบาทต่อปี ในขั้นตอนการเพาะปลูกยาสูบ ต้องใช้น้ำในปริมาณเท่ากับ คนหนึ่งคนใช้น้ำตลอดทั้งปี แต่ละปี พื้นที่ประมาณ 1.25 ล้านไร่ทั่วโลก ถูกแผ้วถาง เพื่อการเพาะปลูกและบ่มใบยาสูบ ก้นบุหรี่ มีสารเคมีกว่า 4,000 ชนิด ปนเปื้อนลงสู่ดิน แต่ละปี บุหรี่ประมาณ 4.5 ล้านล้านมวน ถูกทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อม และพบบ่อยที่สุดบนชายหาด ยาสูบผลิตขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ จากตัวกรอง บรรจุภัณฑ์ รวมถึงขยะอิเล็กทรอนิกส์มีส่วนทำให้นกทะเล 1 ล้านตัว และสัตว์ทะเล 100,000 ตัวตาย จากมลพิษพลาสติกทุกปี ในปี 2565 องค์การอนามัยโลก มีประเด็นรณรงค์ในวันงดสูบบุหรี่โลก คือ Tobacco: Threat to our environment หรือ “บุหรี่ทำลายสิ่งแวดล้อม” เพื่อมุ่งหวังปกป้องและคุ้มครองสุขภาพของประชาชนควบคู่ไปกับการรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่ให้ได้รับผลกระทบจากวัฏจักรยาสูบ เนื่องจากบุหรี่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมหาศาล ตั้งแต่กระบวนการปลูกยาสูบ การผลิต การขนส่ง การจัดจำหน่าย การสูบ ข่าวสุขภาพ จนกลายเป็นขยะก้นบุหรี่ ขณะที่ OTPC ได้เน้นใช้กลไกการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมป้องกัน อาทิ ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยววิถีใหม่ปลอดบุหรี่ , ปรับปรุงและยกระดับการบังคับใช้กฎหมาย, สนับสนุนให้เกษตรกรผู้ปลูกยาสูบเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน ทำโครงการชายหาดปลอดบุหรี่นำร่อง 24 ชายหาด 15 จังหวัดชายฝั่งทะเลที่มีชื่อเสียง ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งออกกฎหมายห้ามสูบบุหรี่บนพื้นที่ชายหาด มาตรการเหล่านี้ไม่ได้ช่วยแค่คนไทยให้มีสุขภาพดี แต่ยังสร้างภาพลักษณ์ด้านทัศนียภาพความสวยงามให้สถานที่ท่องเที่ยวปลอดจากขยะก้นบุหรี่ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมในสภาพที่ดีต่อไปนานๆ
แนะนำข่าสุขภาพ อ่านเพิ่มเติมคลิกเลย : มะเร็งปากมดลูก สาเหตุคืออะไร มีอาการอย่างไร หญิงไทยควรตรวจเมื่อไร