29 พฤศจิกายน 2023
แก้ที่รากฐานประเทศ

เศรษฐกิจบ้านเรามีต้นแบบ สังคมเกษตรกร คือไม่ว่าจะพยายามวางเป้าหมายในการพัฒนาประเทศไปในทิศทางใด จะเป็น ไทยแลนด์ 4.0 หรือ เศรษฐกิจดิจิทัล ในที่สุดเราก็หนีฐานรากการเป็นเกษตรกรไม่พ้น

ข่าวเศรษฐกิจ ถ้าเราคิดแต่จะพัฒนาและวางเป้าหมาย ส่วนยอดของพีระมิด ฐานรากของประเทศจะไม่แข็งแรง ไม่ว่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ยากที่จะประสบผลสำเร็จ เพราะฐานรากของประเทศส่วนใหญ่ก็คือ เกษตรกรและมีอาชีพการเกษตรเป็นหลัก ตราบใดที่รากฐานไม่สามารถประกอบอาชีพหลักได้อย่างสมบูรณ์ ต้องไปรับจ้าง ใช้แรงงานในการดำรงชีพ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและทิศทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนก็จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะการตีโจทย์ผิดตั้งแต่ต้น ติดกระดุมผิดเม็ดตั้งแต่แรกการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อในปัจจุบัน ทางทฤษฎีคือการขึ้นดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อ แต่ในทางปฏิบัติมีผลข้างเคียงที่ตามมาอีกมาก เช่นภาระหนี้สิน อัตราแลกเปลี่ยน การนำเข้าส่งออก วินัยทางการเงินการคลัง ของประเทศ เป็นต้นความเห็นของ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ อดีต รมช.แรงงาน มองว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดอีกร้อยละ 0.75 ทำให้ดอกเบี้ยปรับขึ้นมาเป็นร้อยละ 4 สะท้อนให้เห็นว่าในช่วงระยะเวลาแค่ 6 เดือน มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้วถึง ร้อยละ 3.75 จากร้อยละ 0.25-0.5 คาดว่าดอกเบี้ยเชิงนโยบายจะไปแตะที่ร้อยละ 4.75-5 ไม่เกินปีหน้าภารกิจของ เฟด คือลดเงินเฟ้อ ลดอัตราการว่างงาน กระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด และวิกฤติพลังงานที่กลายเป็นสงครามการค้าระหว่าง จีนกับสหรัฐฯ ไปแล้ว อังกฤษ สหภาพยุโรป ก็ต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทั่วโลกต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยเหมือนกันหมดจะมากจะน้อย แล้วแต่ผลกระทบของแต่ละประเทศ แต่มีการขึ้นดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องเหมือนกัน ซึ่งนั่นคือความผันผวนของเศรษฐกิจโลก

แก้ที่รากฐานประเทศ

เงินบาทไทยอ่อนค่าลงมาตามสถานการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งก็อยู่ในการดูแลของแบงก์ชาติ ไม่ให้ผันผวนมากเกินไป ที่สำคัญคือเราไม่ควรไปแทรกแซง ค่าเงินบาท หากไม่มีความจำเป็นจริงๆ

ข่าวเศรษฐกิจ เราเคยมีประสบการณ์เข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทจนเกิดวิกฤติค่าเงินมาแล้ว ทางออกที่ดีคือรัฐต้องคอยติดตามควบคุม ภาคเอกชนต้องเตรียมวางแผนรับมือความเสี่ยงที่จะตามมาที่ต้องจับตา คือพีระมิดทางประชากร ที่ส่งสัญญาณบางอย่างเปลี่ยนจาก รูปแบบพีระมิด เป็น คอนโดม เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แบบไม่สมดุล จากจำนวนประชากรที่ประมาณ 33 ล้านคนในปี 1967 เป็นกว่า 70 ล้านคนในปี 2022 จากที่มีอายุเกิน 65 ปีประมาณ 1% ของจำนวนประชากร เป็นอายุเกิน 85 ปี มีถึงร้อยละ 1 ของจำนวนประชากร จะเป็นปัญหาและภาระของประเทศที่กำลังตกอยู่ในมรสุมวิบากกรรมนานาสารพัดนอกจากที่รัฐจะต้องเยียวยาให้กับผลกระทบที่เกิดขึ้นตัวเลขหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ของ ธ.ก.ส. ที่มีลูกหนี้ส่วนใหญ่เป็น เกษตรกร หรือหนี้เสียภาคการเกษตรเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 3.7 ในปี 2563 เป็นร้อยละ 6.63 ในปี 2564 จำเป็นจะต้องปรับหนี้เสียให้มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5 ของสินเชื่อรวมในปี 2565 ปรากฏว่า แค่ครึ่งปีแรกของปี 2565 หนี้เสียกลับพุ่งไปที่ร้อยละ 12.5 แม้ผู้บริหารจะตั้งเป้าให้ลดลงมาที่ร้อยละ 7 และร้อยละ 4.5 ตามลำดับก็ตามตัวเลขสินเชื่อสะสมของเกษตรกรที่เป็นหนี้กับ ธ.ก.ส. สูงถึง 1.6 ล้านล้านบาท ยังไม่รวมกับสินเชื่อนอกระบบและสินเชื่อกับแบงก์พาณิชย์อื่น ถ้าเรายังจะคิดแค่การพักหนี้เกษตรกรมาเป็นนโยบายในการหาเสียง ต้องใช้ภาษาวัยรุ่นว่าหน่อมแน้มไปหน่อย ดังนั้น การจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างเอกชนกับเกษตรกร บริษัทผู้ร่วมผลิต แปลงหนี้เป็นทุน คือทางออกที่จะขับเคลื่อนแหวกวงล้อมมหาวิกฤติเศรษฐกิจของฐานรากประเทศก่อนที่จะไม่มีหนทางให้เลือกเลย

แนะนำข่าวเศรษฐกิจ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : “สนค.” คาดทั้งปี 5.5-6.5% เงินเฟ้อเดือน ต.ค.